ในยามที่ผู้ใหญ่หลาย ๆ คนโตขึ้น อาจจะประสบกับภาวะความรับผิดชอบที่มากล้น การทำงานที่เหน็ดเหนื่อยในแต่ละวัน โดยอาจจะหลงลืมไปว่าการเล่น ซึ่งเป็นการทำให้ตนเองมีความสุขก็เป็นสิ่งสำคัญของการใช้ชีวิตเช่นเดียวกัน โดยการเล่นเป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อเด็กเล็ก ๆ เพราะเป็นหัวใจแห่งการเรียนรู้ ทำให้เด็กมีการพัฒนาทางร่างกายและจิตใจ อีกทั้งยังทำให้กลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีความมั่นใจในตัวเองด้วย สำหรับในบทความนี้เราจะมาแนะนำกิจกรรมการเล่นเด็ก 2 ช่วงวัย นั่นก็คือเด็กวัยแบเบาะและเด็กที่กำลังอยู่ในวัยหัดเดิน

เด็กต้องการเล่น ความสำคัญของการใช้ชีวิต

พัฒนาการของลูกกับพัฒนาการความเข้าใจของพ่อแม่จะต้องดำเนินไปพร้อมกัน เพราะเมื่อของลูกของคุณโตขึ้น วิธีการเล่นของเขาก็จะแปรเปลี่ยนไป ซึ่งจะยิ่งเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น อยากจะทดลอง อยากจะสั่งสมประสบการณ์มากยิ่งขึ้น ทำให้ต้องการเวลาในการเล่นเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย โดยการเล่นมีหลายแบบทั้งการเล่นคนเดียวและการเล่นร่วมกับเด็กคนอื่น

เด็กวัยทารก

สำหรับเด็กวัยนี้วิธีการเล่นที่ดีที่สุดคือ การมองหน้าและได้ยินเสียงของคนในครอบครัว นับเป็นเรื่องที่ดีที่สุดของเด็กวัยนี้เลยก็ว่าได้ สำหรับกิจกรรมง่าย ๆ ที่คุณทำได้ทุกวันได้แก่…

  • ร้องเพลงให้ลูกฟัง โดยอาจจะเปิดเพลงบรรเลงคลอไปด้วยก็ได้จะทำให้มีสีสันมากขึ้น
  • การเล่นจ๊ะเอ๋ จะทำให้เด็กมีพัฒนาการทางสังคมและมีการเสริมสร้างอารมณ์มากยิ่งขึ้น
  • การแนะนำเด็กให้รู้จักกับสัมผัสต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความนุ่มของหมอนผ้าห่มต่าง ๆ จะทำให้เด็กพัฒนาเรื่องการสัมผัส
  • นำของเล่นที่มีสีสันสดใส และขนาดต่างกันมาหลอกล่อ จะทำให้เด็กอยากจะเอื้อมมือไปจับ

เด็กวัยหัดเดิน

เด็กวัยนี้ต้องการการเล่นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของร่างกายและสติปัญญา

  • สิ่งของที่มีขนาดใหญ่และเบา เช่นกล่องลังกระดาษหรือลูกบอลเป่าลม จะทำให้ลูกของคุณนั้นอยากวิ่งเข้าไปหา หรือลากเล่น เป็นต้น
  • ชุดหมวกเครื่องประดับเครื่องแต่งกายต่าง ๆ เด็กจะได้เรียนรู้วิธีการแต่งกายด้วยตนเอง และเลือกแต่งกายตามที่ต้องการช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และการตัดสินใจ
  • บ้านลม การพาลูกไปเล่นในบ้านของเล่นที่มีลักษณะเป็นอุโมงค์ หรือมีที่ปีนป่ายต่าง ๆ จะทำให้เด็กรู้สึกตื่นเต้นราวกับออกไปสำรวจโลก

ถ้าการส่งเสริมพัฒนาพัฒนาการของเด็กวัยเรียนคือการอ่านหนังสือและการฝึกฝนต่าง ๆ พัฒนาการที่สำคัญของเด็กวัยแบเบาะและวัยหัดเดินก็คือการเล่น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องทำความเข้าใจ เพื่อที่จะทำให้ลูกน้อยเติบโตมาอย่างมีความสุขและกลายเป็นเด็กที่มีคุณภาพต่อไปในสังคม